พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

พัฒนาการทางศิลปะ 


      พีรพงษ์ กุลพิศาล (2531: 2932) ได้กล่าว ว่า พัฒนาการทางศิลปะเป็นกระบวนการแสดงออกทางศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะของเด็ก ซึ่งปรากฏอยู่ในวัยจากวัยหนึ่งสู่อีกวัยหนึ่งอย่างต่อเนื่องและพัฒนาการดัง กล่าวจะดำเนินไปอย่างช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเข้าใจและความสามารถ ทางศิลปะ ประกอบกับสิ่งแวดล้อมและแรงจูงใจของแต่ละคน ดังจะเห็นได้จากพัฒนาการทางศิลปะของเด็กนั้น จะเริ่มต้นจากการเขียนภาพเป็นเส้นขยุกขยิก จนสามารถลากเส้นตรงได้ เพราะกล้ามเนื้อแขนและมือได้รับการควบคุมดีขึ้น

ศรีเรือน แก้วกังวาน (2540: 232) ได้ กล่าวถึงพัฒนาการทางศิลปะ เป็นพัฒนาการควบคู่ทั้งด้านความคิดและทักษะ พัฒนาการทางศิลปะของเด็ก มีความพิเศษกว่าของผู้ใหญ่ในเรื่องความสามารถทางกายด้านประสาทสัมผัสและการ เคลื่อนไหว รวมทั้งความสามารถด้านสมองเชิงสร้างสรรค์ และแสดงออกทางจินตนาการ ซึ่งมีค่าต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจและความคิดเชิงบวก                                   เคลล็อก (หรรษา นิลวิเชียร. 2535:183 ;อ้างอิงจาก Kellogg. 1967)ได้ ศึกษางานขีดๆ เขียนๆ ของเด็กและให้ความเห็นว่า เด็กๆ ทั่วโลกมีขบวนการในการพัฒนางานศิลปะเป็นขั้นตอนที่เหมือนๆ กัน วงจรของการพัฒนาจะเริ่มจากอายุ 2 ขวบหรือก่อน 2 ขวบเล็กน้อย จนถึงอายุ 4 5 ขวบ และได้จำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอน ทำให้เราเข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆ ทางศิลปะที่มีต่อการพัฒนาการในชีวิตของเด็กไว้ดังนี้
ความหมายและความสำคัญของเด็กปฐมวัย

     เด็กปฐมวัย คือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 6 ปีบริบูรณ์ การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดา มารดา คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของ บุคลิกภาพ อุปนิสัย และการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา ความสามารถ เพราะเด็กในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์แม่จนถึง 4 ปี ระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตในอัตราสูงสุด (ประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่) การอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญ เติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีจะให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดี เฉลียวฉลาด คิดเป็น ทำเป็น และมีความสุข เด็กปฐมวัยจะมีชีวิต รอดและเติบโตได้ก็ด้วยการพึ่งพาพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ช่วยเลี้ยงดู ปกป้องจากอันตราย หากผู้ใหญ่ให้ความรักเอาใจใส่ใกล้ชิด อบรมเลี้ยงดูโดยเข้าใจเด็กพร้อมจะ ตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เปลี่ยนไปตามวัยได้อย่างเหมาะสมให้สมดุลย์กันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และสังคมแล้ว เด็กจะเติบโตแข็งแรง แจ่มใส มีความมั่นคงทางใจ รู้ภาษา ใฝ่รู้ และใฝ่ดี พร้อมที่จะพัฒนาตนเองในขั้นต่อไป ให้เป็นคนเก่งและคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีประโยชน์

     พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านการทำหน้าที่ (Function) และวุฒิภาวะ (Maturation) ของอวัยวะระบบต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น ตลอดจนการเพิ่มทักษะใหม่ๆ และความสามารถในการปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมหรือภาวะใหม่ในบริบทของครอบครัวและสังคม พัฒนาการของมนุษย์จำแนกเป็น 5 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย ,อารมณ์ , จิตใจ , สังคม จิตวิญญาณ


เพลงเสริมพัฒนาการเด็ก


สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อ หมายถึง ตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้หรือเป็นตัวกลางในการนำความต้องการจากผู้ส่งไปยังผู้รับเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ประเภทสื่อของเด็กปฐมวัย
        1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ
        2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
        3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
การเลือกสื่อ มีวิธีการดังนี้
        1. เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่สอน
        2. เลื่อกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
        3. เลือกให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่
การจัดหาสื่อ
        1. จัดหาโดยการของยืมจากแหล่งต่างๆ
        2. จัดซื้อสื่อ
        3. ผลิตขึ้นเอง 
การใช้สื่อ
      ในการใช้สื่อการสอนทุกครั้ง ต้องมีการเตรียมความพร้องของสื่อก่อนที่จะนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนดังนี้คือ
         1. เตรียมครูผู้สอน
         2. เตรียมตัวเด็ก
         3. เตรียมสื่อ 
การนำเสนอสื่อ
         1. เร้าความสนใจเด็กด้วยคำถามก่อน
         2. ใช้สื่อดำเนินกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนที่วางแผนไว้
         3. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อก่อน เพราะอาจทำให้เด็กหมดความสนใจ
การดูแล การเก็บรักษาสื่อ
         1. เก็บให้เป็นระเบียบตามประเภทของสื่อ
         2. วางสื่อไว้ในระดับสายตาเด็ก เพื่อที่เด็กสามารถหยิบใช้ง่าย
         3. เก็บสื่อไว้ในภาชนะที่โปร่งใส เพื่อให้เด็กมองเห็นสื่งที่อยู่ข้างใน และควรมีขนาดพอเหมาะที่เด็กสามารถขนย้ายได้
         4. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพ สี สัญลักษณ์แทนหมวดหมู๋ ประเภท เพื่อให้เด็กสามารถเก็บได้อย่างถูกต้อง
         5. ตรวจสอบสภาพสื่อทุกครั้งหลังใช้เสร็จ
         6. ซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด และเติมส่วนที่ขาดหายไป